การวัดปริมาณไขมันในร่างกาย

ไขมันในร่างกาย
ปกติแล้วร่างกายของคนเราจะประกอบไปด้วย กระดูก กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ น้ำ และไขมัน ในคนที่ออกกำลังกายและควบคุมอาหารเป็นประจำ อาจจะมีน้ำหนักตัวเยอะ ร่างกายท้วมใหญ่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนนั้นจะเข้าสู่ภาวะโรคอ้วน เพราะอาจจะเป็นน้ำหนักของมวลกล้ามเนื้อ แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าเรามีไขมันส่วนเกินในร่างกายเกินมาตรฐานรึเปล่า วันนี้Qclinic มีวิธีการวัดปริมาณไขมันในร่างกายด้วยตัวเองแบบง่ายๆมาฝากกันค่ะ
การวัดปริมาณไขมันในร่างกาย

วิธีการวัดปริมาณไขมันในร่างกายด้วยตัวเองที่แม่นยำสามารถทำได้โดยใช้เครื่องหนีบไขมัน หรือ คาลิเปอร์ (Fat Caliper) เป็นการวัดเปอร์เซนไขมันในร่างกาย ด้วยค่าความหนาของขั้นไขมันรวมกับผิวหนัง ที่คิดค้นโดยนักวิทยาศาตร์ด้านสุขภาพเป็นการใช้อุปกรณ์หนีบดึงบริเวณผิวหนังส่วนเกินแต่ละตำแหน่ง โดยผู้ชายและผู้หญิงจะวัดจากตำแหน่งที่แตกต่างกันดังนี้
ผู้ชาย
- บริเวณหน้าท้อง ใกล้กับสดือ (Abdomen) วัดห่างจากสดือประมาณ 2 cm แล้วหนีบในแนวตั้ง
- บริเวณหน้าอก (Chest) วัดบริเวณกึ่งกลางระหว่างหัวนม และ รักแร๊ โดยหนีบในแนวเฉียง
- บริเวนหน้าขา (Thigh) วัดตรงกลางของท่อนขาด้านหน้าช่วงบน หนีบในแนวตั้ง
ผู้หญิง
- บริเวณหลังแขน (Triceps) วัดตรงระหว่างกลางของช่วงข้อศอกกับหัวไหล่ แล้วหนีบในแนวตั้ง
- บริเวณท้องด้านข้าง (Suprailiac) วัดให้เหนือจากด้านหน้าของกระดูกเชิงกราน หนีบในแนวเฉียงตามลักษณะของกระดูกเชิงกราน
- บริเวนหน้าขา (Thigh) วัดตรงกลางของท่อนขาด้านหน้าช่วงบน หนีบในแนวตั้ง
ตำแหน่งเหล่านี้เป็นจุดสะสมของไขมัน โดยวัดจากฝั่งที่เราถนัด เช่นถนัดขวาให้วัดจากฝั่งด้านขวาโดยจะหนีบตามแนวขวาง ที่สำคัญต้องใช้แรงกดเท่ากันทุกตำแหน่งเพื่อความแม่นยำ เมื่อได้ตัวเลขจากการวัดด้วยคาลิเปอร์ ทั้ง 3 จุดแล้วให้นำตัวเลขที่ได้มารวมกัน แล้วหาร 3 จะเท่ากับค่าของเปอร์เซ็นไขมันในร่างกาย เมื่อเราได้ค่าเปอร์เซ็นไขมันในร่างกายแล้วสามารถนำไปเปรียบเทียบกับตารางค่าความหนาของไขมัน (หน่วยมิลลิเมตร)


ขอบคุณภาพจาก lovefitt.com
หากพบว่าตัวเองมีไขมันส่วนเกินอยู่ในปริมาณมากสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาให้ตรงจุดได้ และการดูดไขมันถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างปลอดภัย โดยการดูดไขมันคือการดูดเอาไขมันส่วนเกินเฉพาะจุดที่เราไม่ต้องการออกจากร่างกาย โดยแพทย์จะเป็นผู้ประเมินโดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก หลายคนคงมีความเข้าใจผิดๆว่ายิ่งดูดออกเยอะเท่าไหร่ก็ยิ่งดี ซึ่งจริงๆแล้วตามหลักทางการแพทย์ ในการดูดไขมัน 1 ครั้ง ไม่ควรเกิน 5 ลิตร (ประเมินจากคนที่น้ำหนักตัว 70 กิโลกรัม) หากมีคำถามว่าดูดไขมันทั้งตัวพร้อมกันได้หรือไม่ ? ดูดได้บริเวณไหนบ้าง ? สามารถหาคำตอบได้จากบทความก่อนหน้า คลิก