คีลอยด์

ตัดคีลอยด์ ปก

                คีลอยด์ เป็นแผลเป็นที่มีลักษณะนูนขยายใหญ่ขึ้นได้เกินกว่าขอบเขตของแผลเริ่มต้นส่วนใหญ่จะพบมากในบริเวณหน้าอก ไหล่ หลังด้านบน และใบหู โดยส่วนใหญ่แล้วแผลคีลอยด์จะไม่ส่งผลด้านสุขภาพแต่จะส่งผลในเรื่องของภาพลักษณ์ แต่หากเป็นที่ใบหูที่เกิดจากการเจาะหู แล้วมีการขยายใหญ่ขึ้นควรพบแพทย์ เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้ใบหูมีลักษณะผิดรูปได้

คีลอยด์บริเวณใบหู

รีวิว คีลอยด์หู
รีวิว คีลอยด์หู
รีวิว คีลอยด์หู

             คีลอยด์ที่ใบหู เกิดได้จากการเจาะหู หรือ มีรอยแผลบริเวณใบหูที่เกิดการอักเสบ แล้วทิ้งระยะเวลาไว้นานประมาณ1-2 ปี รูที่เจาะก็แข็งกลายเป็นก้อนเล็ก ๆ และค่อย ๆ ขยายตัวใหญ่ขึ้นอย่างช้า ๆ แต่จะเกิดขึ้นมากหรือน้อยเป็นไปตามกรรมพันธ์ หากเราสงสัยว่าเรามีความเสี่ยงที่จะเกิดคีลอยด์หรือไม่ให้ ให้สังเกตจาก “รอยการฉีดวัคซีนที่บริเวณหัวไหล่,รอยแผลบริเวณหน้าอก และสิวบริเวณหน้าอก” หากพบว่ามีแผลนูน ก็แสดงว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นคีลอยด์ได้ง่าย ซึ่งหากพบว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นคีลอยด์ ก็จะต้องระมัดระวังการผ่าตัด การเจาะหู ตลอดจนดูแลบาดแผลตัวเองให้ดี ทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ และไม่ควรแกะเกาจนแผลลุกลามติดเชื้อ ก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดคีลอยด์ได้

การรักษาคีลอยด์บริเวณใบหู หรือ ตัดคีลอยด์ที่ใบหู

           หากเกิดเป็นก้อนคีลอยด์ที่รูที่เจาะหู ก้อนเล็ก ๆ ประมาณถั่วเขียว อาจจะรักษาโดยการฉีดยาได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาสเตียรอยด์ โดยต้องรอประมาณ 1 เดือนจึงจะฉีดซ้ำ แต่ถ้าก้อนใหญ่กว่าถั่วลิสง แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดออก

           การผ่าตัดก้อนคีลอยด์ที่หู ถ้าก้อนเล็กจะผ่าง่าย หูไม่เสียทรง แต่ถ้ารอจนก้อนใหญ่มาก ๆ และกินกระดูกหูเข้าไปมาก ๆ การผ่าตัดอาจทำให้ใบหูผิดรูปหรือเว้าแหว่งได้ 

          การรักษาคีลอยด์ที่หู โอกาสหายขาดมีกว่า 90% แต่ในบางรายก็มีโอกาสกลัมาเป็นซ้ำ ซึ่งนอกจากการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้วอาจต้องมีการฉีดยาหรือฉายแสงร่วมด้วย

         การดูแลตัวเองของคนไข้หลังการรักษาก็เป็นสิ่งสำคัญ ควรลดการทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์พวกเนื้อแดง ลดอาหารแสลง เช่น พวกของเผ็ดจัด เค็มจัด และพวกส้มตำปลาร้า และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการรักษาคีลอยด์สามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญของQSC ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือคลิกดูรีวิวได้ที่นี่

Scroll to Top