วันมะเร็งโลก (WORLD CANCER DAY)

วันมะเร็งโลก

4 กุมภาพันธ์ วันมะเร็งโลก

            เนื่องจากวันที่ 4 กุมภาพันธ์ถูกกำหนดให้เป็นวันมะเร็งโลกสากล เพื่อให้ตระหนักและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งว่าเป็นอันตรายใกล้ตัวที่รู้ก่อนก็สามารถป้องกันการเสียชีวิตได้ ซึ่งจากสถิติคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง เฉลี่ยวันละ 221 ศพ หรือคิดเป็น 80,665 ศพต่อปี โดยมะเร็งที่คร่าชีวิตของผู้หญิงไทยมากที่สุด คือมะเร็งเต้านม ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเต้านมทั้งสิ้น แต่หากเรารู้วิธีการป้องกันและวิธีสังเกตุร่างกายตัวเองเบื้องต้น ก็ทำให้ปลอดภัยจากโรคมะเร็งเต้านมได้

โรคมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม

             โรคมะเร็งเต้านมเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่อยู่ภายในท่อน้ำนม เซลล์เหล่านี้จะมีการแบ่งตัวผิดปกติ มักแพร่กระจายไปตามทางเดินน้ำเหลือง ไปสู่อวัยวะที่ใกล้เคียงเช่น ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หรือแพร่กระจายไปสู่อวัยวะที่อยู่ห่างไกล เช่น กระดูก ปอด ตับ และสมอง เช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่นๆ

โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม มีดังนี้ 

  1. ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ คือ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมก็ยิ่งเสี่ยงเพิ่มขึ้น 
  2. อายุ เมื่ออายุเพิ่มขึ้นก็มีโอกาสที่จะมีความผิดปกติของยีนในเซลล์เพิ่มขึ้น
  3. มีประจำเดือนอายุน้อย (น้อยกว่า 12 ปี) หรือหมดประจำเดือนช้า (มากกว่าอายุ 50 ปี) ทำให้ร่างกายสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนนานกว่าผู้หญิงปกติ
  4. เต้านมมีต่อมนํ้านมมากกว่าผู้หญิงทั่วไปทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 
  5. ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ 
  6. น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หรือมีภาวะโรคอ้วน
  7. ไม่เลี้ยงลูกด้วยนมมารดา เนื่องจากช่วงให้นมบุตรจะทำให้มารดาไม่มีประจำเดือนมา เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนและป้องกันมะเร็งเต้านมได้

อาการเริ่มต้นมะเร็งเต้านม

  1. มีก้อนที่เต้านม 
  2. มีการเปลี่ยนแปลงขนาด และรูปร่างของเต้านม ที่ผิดไปจากเดิม
  3. ผิวหนังของเต้านมเปลี่ยนแปลง เช่น รอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติ บางส่วนมีสะเก็ด ซึ่งควรหมั่นสังเกตเต้านมของตัวเองเป็นประจำ
  4. หัวนมมีการหดตัว คัน หรือแดง ผิดปกติ
  5. มีเลือดหรือน้ำออกจากหัวนม
  6. เจ็บเต้านม (มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ไม่ไม่มีอากการเจ็บ นอกจากก้อนมะเร็งโตมากแล้ว)
  7. การบวมของรักแร้ เพราะเกิดจากต่อมน้ำเหลืองโตผิดปกติ
ตรวจมะเร็ง

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (Mammogram)

            การตรวจแมมโมแกรม(Mammogram) เพื่อคัดกรองมะเร็งเต้านม ควรตรวจเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป โดยควรตรวจตรวจปีละ 1 ครั้ง ซึ่งการตรวจแมมโมแกรมเป็นการตรวจโดยใช้รังสีชนิดพิเศษคล้ายกับการเอ็กซเรย์ เป็นวิธีการคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ได้ประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งหากตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้นทำให้มีโอกาสรักษาให้หายได้

เสริมหน้าอกตรวจมะเร็งเต้านม (Mammogram)

            การตรวจแมมโมแกรม เป็นการใช้รังสีเอ็กซ์ โดยการกดเนื้อเต้านมให้แน่นแนบกับเครื่อง เพื่อตรวจหาสิ่งผิดปกติ สำหรับสาวๆที่เสริมหน้าอกด้วยถุงนมซิลิโคนอาจมีความกังวลว่าการบีบกดจะทำให้ซิลิโคนหน้าอกแตกได้หรือไม่ ซึ่งความเป็นจริงแล้วซิลิโคนถูกออกแบบมาให้มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้การตรวจแมมโมแกรมไม่ส่งผลกระทบต่อซิลิโคนหน้าอกไม่ทำให้ซิลิโคนแตก หรือรั่วซึม แน่นอน

                นอกจากนั้นสำหรับสาวๆที่ศัลยกรรมเสริมหน้าอกมาแพทย์จะใช้วิธีการตรวจเทคนิคพิเศษเพิ่มเติมโดยการเอ็กซ์เรย์เพื่อดึงเนื้อเยื่อเต้านมออกจากซิลิโคน ควบคู่ไปกับการอัลตราซาวด์เพื่อตรวจหาความผิดปกติของเนื้อเต้านมอย่างละเอียด 

              การตรวจหามะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปีเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้หญิงทุกคนควรปฏิบัติ หากตรวจพบเร็วในระยะเริ่มแรกก็จะยิ่งลดความรุนแรงของโรคและอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตลงได้มากขึ้น