ภาวะแทรกซ้อนหลังการเสริมหน้าอก

          การศัลยกรรมเสริมหน้าอกเป็นหัตถการยอดฮิตตลอดกาลของสาวไทย เนื่องจากปัจจุบันทางการแพทย์ได้พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดทำให้การศัลยกรรมเสริมหน้าอกไม่ได้น่ากลัว หรือ “เจ็บเหมือนรถสิบล้อทับ” อย่างที่ผ่านมา แต่เหรียญก็ย่อมมีสองด้าน ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีสถานที่ที่ทำศัลยกรรมแบบไม่ได้มาตรฐาน โดยบุคคลที่ไม่ได้จบแพทย์ หรือเรียกว่าหมอเถื่อนนั่นเอง ซึ่งหากเราไม่ศึกษาหาข้อมูลให้ดีหลงเชื่อคำโฆษณาชวนเชื่อ ผลลัพธ์ของการศัลยกรรมที่ไม่ได้ทำโดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมามายมาย วันนี้แอดมินจึงได้รวบรวมข้อมูล “ ภาวะแทรกซ้อนหลังการเสริมหน้าอกที่ต้องพึงระวัง” ไว้เตือนใจสาวๆกันค่ะ

ภาวะแทรกซ้อนหลังการเสริมหน้าอก

ภาวะแทรกซ้อนหลังการเสริมหน้าอก

1.ภาวะแทรกซ้อนของการใช้ยาชา ยาสลบ เช่น แพ้ยาชา ยาสลบ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดหัว ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นผิดปกติ 

2.ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดเสริมหน้าอก เช่น ห้อเลือด มีเลือดคั่ง (Hematoma) ผิวหนังเต้านมตาย ถุงซิลิโคนทะลุ ติดเชื้อที่เต้านม ติดเชื้อที่ผิวหนัง เจ็บชาหัวนม มีแผลเป็นขนาดใหญ่ พังผืดหดรัดตัว ซิลิโคนเหลวรั่ว นมและหัวนมสองข้างระดับไม่เท่ากัน นมและหัวนมบิดเบี้ยว ซิลิโคนอยู่ผิดที่ คลำถุงซิลิโคนได้ ผิวหนังเต้านมเป็นริ้ว ดูไม่เป็นธรรมชาติ

3.เกิดหลอดเลือดดำที่ผิวหนังเต้านมอุดตันอักเสบ เรียกว่า Mondor disease ทำให้เจ็บ บวม มีก้อนที่เต้านม เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อย

ระยะเวลาของการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการเสริมหน้าอก

ระยะเวลาของการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการเสริมหน้าอก
  • เกิดหลังผ่าตัด 24-48 ชม. เช่น เลือดคั่งในช่องโพรงที่ใส่ซิลิโคน ต้องผ่าตัดใหม่เพื่อนำเอาเลือดคั่งออกป้องกันการติดเชื้อ หรือ พังผืดรัดตัว เต้านมผิดรูป
  • เกิดหลังการผ่าตัดไปแล้ว 1 – 4 อาทิตย์ เช่น แผลผ่าตัดติดเชื้อ น้ำเหลืองคั่งในโพรงหน้าอก ป้องกันและรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือ เจาะดูด เอาน้ำเหลืองออก
  • เกิดภายหลังผ่าตัดไปแล้ว 1- 12 เดือน เช่น พังผืดรัดตัว, หน้าอกชิดกันเกินไปจนกลายเป็นนมแฝด จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขอาการชา หรือ ไวต่อความรู้สึกมากผิดปกติ บริเวณหัวนม ด้านล่างของเต้านม แต่อาการเหล่านี้จะหายได้เอง
  • เกิดภายหลังผ่าตัดไปแล้ว 1- 10 ปี เช่น พังผืดรัดตัว, น้ำเหลืองคั่งเรื้อรัง, ซิลิโคนแตกหรือรั่ว จำเป็นต้องตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ และต้องรับการผ่าตัดเลาะพังผืดเปลี่ยนซิลิโคนใหม่
  • โรคมะเร็งระบบน้ำเหลืองบางชนิดที่เกิดคู่กับเต้านมเทียม เรียกว่า BIA-ALCL (Breast implant associated-Anaplastic Large Cell Lymphoma)ส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้ที่ใส่ซิลิโคนผิวหยาบ ต้องรักษา ด้วยการผ่าตัดเลาะเอาพังผืดรอบเต้านมเทียมออกให้หมด และ นำซิลิโคนออก
  • อาการไม่สบายที่เกิดคู่กับการเสริมหน้าอก เรียกว่า BII หรือ Breast Implant Illness เช่น อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดหัว ปวดตามข้อ ปวดเต้านม ผื่นแพ้ตามร่างกาย ซึ่งไม่สามารถ ตรวจพบความผิดปกติอย่างชัดเจน อาการต่างๆอาจจะดีขึ้นหรือหายไปหากรับการผ่าตัด เอาเต้านมเทียมออก

          ข้อมูลนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยหากเลือกทำศัลยกรรมกับศัลยแพทย์ตกแต่งเฉพาะทางในสถานที่ที่ได้มาตรฐาน ดังนั้นก่อนการตัดสินใจสาวๆจึงควรคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้เป็นอันดับแรกเพื่อความปลอดภัยกับสุขภาพในระยะยาว ขอขอบคุณข้อมูลจากสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย หากสาวๆท่านไหนมีคำถามหรือข้อสงสัยเรื่องของการศัลยกรรมทุกหัตถการสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อสอบถามผู้เชี่ยวชาญแบบส่วนตัวได้ตลอด 24 ชั่วโมง