อาการปัสสาวะเล็ดที่ไม่ใช่เรื่องเล็กของผู้หญิง

ปัสสาวะเล็ด ปก

กลุ่มอาการปัสสาวะเล็ด

อาการปัสสาวะเล็ดมีหลายอาการ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม 

  1. กลุ่มแรกพบในคนที่มีโรคทางระบบประสาทและสมองร่วมด้วยโดยมีปัสสาวะไหลตลอดเวลา (Overflow) แค่เดินปกติก็มีอาการปัสสาวะเล็ดแล้ว 
  2. กลุ่มที่สอง ปัสสาวะเล็ดเวลาไอ จาม ยกของหนัก หรือออกแรงทำกิจกรรมต่างๆ 
  3. กลุ่มที่สาม เรียกว่ากระเพาะปัสสาวะไวเกินไป เมื่อเริ่มรู้สึกปวดกำลังจะลุกไปเข้าห้องน้ำ ปัสสาวะมักเล็ดออกมาก่อนและจะมีอาการปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ 

โดยอาการเหล่านี้ส่งผลให้การใช้ชีวิตประจำวันของสาวๆเปลี่ยนไป สร้างความลำบากและปัญหามากขึ้น แต่โชคดีที่ปัญหาเหล่านี้มีทางออก วันนี้Qclinic จะพาสาวๆไปรู้ถึงสาเหตุและวิธีการแก้ปัญหาอาการปัสสาวะเล็ดให้หายขาดกันค่ะ

อาการปัสสาวะเล็ด

สาเหตุการเกิดอาการปัสสาวะเล็ด

สาเหตุหลักของการเกิดอาการปัสสาวะเล็ดของผู้หญิง เกิดจากภาวะหย่อนยานของผนังช่องคลอดด้านหน้า ทำให้ไม่สามารถพยุงท่อปัสสาวะไม่ให้มีการหย่อนตัวได้ ในขณะที่เราทำกิจกรรม ออกกำลังกาย ยกของหนัก หรือไอ จาม จะมีการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ส่งผลให้ท่อปัสสาวะและหูรูดท่อปัสสาวะที่หย่อนตัว ไม่สามารถปิดกั้นแรงดันปัสสาวะที่ถูกส่งผ่านแรงดันมาจากในกระเพาะปัสสาวะได้ จึงทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดออกมา โดยปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดแบ่งออกได้ดังนี้ 

  • อายุ  เมื่ออายุมากขึ้นฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทำให้เยื่อบุช่องคลอดฝ่อตัว และแห้งจนเป็นปัจจัยเสี่ยง ทำให้เกิดภาวะปัสสาวะเล็ดได้เช่นกัน
  • ปัญหาทางสมองหรือร่างกาย ปัสสาวะเล็ด ซึ่งไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของระบบขับถ่ายโดยตรง แต่เกิดจากปัญหาทางสมอง เช่น โรคสมองเสื่อม หรือปัญหาด้านร่างกาย
  • โรคประจำ เช่น เบาหวาน โรคสมองเสื่อม ต่อมลูกหมากโต และโรคอื่นๆที่ส่งผลต่อการกลั้นปัสสาวะ
  • การรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ เช่น ผลไม้ตระกูลส้ม เครื่องดื่มน้ำอัดลม ชา กาแฟ โดยสิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นทำให้ท่อปัสสาวะเปิด จึงทำให้มีปัสสาวะเล็ดออกมาได้
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง ซึ่งฮอร์โมนนี้จะช่วยให้เยื่อบุในกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะมีความแข็งแรง และเมื่อผลิตฮอร์โมนนี้น้อยลงจึงทำให้เนื้อเยื่อดังกล่าวเสื่อมสภาพ
  • การคลอดบุตร โดยเฉพาะจำนวนของการคลอดบุตร จะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะอ่อนแอลง จนทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือ โรคอ้วน เพราะไขมันส่วนเกิน จะเข้าไปกดทับบริเวณท้องน้อย เพิ่มแรงกดทับลงบนกระเพาะปัสสาวะ ทำให้มีการบีบตัวส่งผลให้น้ำปัสสาวะไหลเล็ดออกมาได้

แก้ปัญหาอาการปัสสาวะเล็ด

แก้ปัญหาปัสสาวะเล็ด

การแก้ปัญหาอาการปัสสาวะเล็ดสามารถแบ่งออกได้ 2 วิธี ดังนี้

  1. หากเป็นอาการในระยะเริ่มต้น แพทย์จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมการทานอาหาร ลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน น้ำอัดลม และควรบริหารช่องคลอดด้วยการขมิบโดยการใช้นิ้วสอดเข้าไปในช่องคลอดแล้วขมิบให้นิ้วรู้สึกถึงการรัดตัวของช่องคลอด นับ 1 – 10 เท่ากับ  1 ยก แนะนำให้ทำ 3 ยก เช้า – กลางวัน – เย็น โดยจะเห็นผลภายใน 3-6 เดือน 
  2. การรักษาโดยการผ่าตัด รีแพร์ (Vaginaplasty) คือ การผ่าตัดตกแต่งกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่หย่อนยานภายในช่องคลอดให้กระชับยิ่งขึ้น เพื่อให้ขนาดหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของช่องคลอดเล็กลงและเกิดการหดรัดที่ดีกว่าเดิม โดยเป็นการผ่าตัดตลอดแนวความลึกของช่องคลอด รวมถึงการผ่าตัดตกแต่งเนื้อเยื่อและผิวหนังบริเวณปากช่องคลอดด้วย ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาอาการปัสสาวะเล็ดได้ 

หากต้องการศึกษาข้อมูลการศัลยกรรมรีแพร์เพิ่มเติม สามารถกดได้ ที่นี่

หรือหากมีคำถามเกี่ยวกับการศัลยกรรมรีแพร์ เลเบีย สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ Qclinic ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อขอดูรีวิวได้ ที่นี่

Scroll to Top